วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551

SATV

การติดตั้งระบบทีวีรวมด้วยเครื่องรับดาวเทียม (SMATV) เป็นระบบติดตั้งสายอากาศรวมสำหรับที่อยู่อาศัยประเภทอาคารรวม SMATV ย่อมาจาก Sattellite Master Antenna Television








ปัจจุบันอพาร์ทเม้นท์ ,คอนโด, โรงแรม หรืออาคารสูงต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติมโตของธุรกิจ ,ความเจริญของบ้านเมือง และปริมาณประชากร ที่ต้องการที่พักอาศัยกันมากขึ้น
ก่อนติดตั้งระบบทีวีรวม








ระบบทีวีรวม (SMATV) เป็นระบบที่รวมเอาสัญญาณจากเสาอากาศ ช่อง 3 5 7 9 11 ITV และชุดจานรับสัญญาณดาวเทียมหรือกล้องวงจรปิด, VCD, DVD, วิทยุ ฯลฯ รวมเข้าเป็นชุดเดียวกันแล้วส่งไปตามสายเคเบิ้ล ตามบ้านพักอาศัย ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ ตึก อาคาร หมู่บ้าน อพาร์ทเม้น คอนโดมิเนียม โรงแรม รีสอร์ท ฯลฯ ที่มีเครื่องรับโทรทัศน์หลาย ๆ เครื่อง ต้องใช้ตัวขยายสัญญาณให้แรงขึ้นในแต่ละช่วง เพื่อให้ทุกจุดที่รับชม มีความชัดเจนและไม่มีสัญญาณรบกวน
ปัญหาที่มักพบบ่อย คือ อพาร์ทเม้นต์ คอนโดมิเนียม โรงแรม ฯลฯ เดิมมีระบบเสาอากาศทีวีอยู่แล้ว แต่เมื่อนำเอาระบบจานดาวเทียมมาติดตั้งแล้วดูได้เพียงชั้นบน ๆ แต่ชั้นล่าง ๆ ดูได้ไม่ชัดเจน หรือบางห้องดูได้ บางห้องดูไม่ได้ ความยุ่งยากและสับสนที่พบบ่อยเหล่านี้ คือ เกิดจากการวางระบบ SMATV ไม่ถูกต้องเดิมเริ่มต้น และจบลงที่ความประหยัดที่เกินเหตุของผู้รับเหมาเอง หรือเจ้าของ โครงการ และมองข้ามวิธีการ ที่ถูกต้องของการติดตั้งระบบ SMATV ของเจ้าของโครงการ หรือไม่ก็เกิดจากความไร้จรรยาบรรณของผู้รับเหมาติดตั้ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความไม่รู้หรือรู้ไม่ชัดเจนของทั้งสองฝ่ายก็เป็นสาเหตุที่สำคัญ ผลก็คือ ทำให้ได้ระบบที่พอใช้งานได้เพียงสัญญาณเสาอากาศทีวีปกติ ในย่านความถี่ต่ำ (VHF) เท่านั้น แต่พอมาเจอคลื่นใหม่ที่อยู่ในย่านความถี่สูง (UHF) ก็จะรองรับสัญญาณไม่ได้
คุณสมบัติของอุปกรณ์ ที่ใช้จำเป็นอย่างยิ่ง เช่น สายนำสัญญาณ ตัวแยกสัญญาณ ตัวขยายสัญญาณ การออกแบบวางระบบ ตั้งแต่ชุดต้นแหล่งจ่าย การเดินสายประกอบกับช่างที่จะต้องมีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์พอสมควร
เจ้าของโครงการต่าง ๆ จะต้องดูแลและควบคุมให้ดี เพราะถือว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้วผู้อยู่อาศัยทุกคนจะต้องดูหนัง ฟังเพลง ดูข่าว ดูละคร จึงเป็นระบบที่มีความจำเป็นมากในปัจจุบันนี้ ซื้อคอนโด มิเนียมราคาหลายแสนแต่ทีวีไม่ชัดหรือดูไม่ได้เลย ถ้าหากเจ้าของ โครงการมองข้ามหรือไม่ให้ความ สำคัญ อาจเป็นสิ่งที่สร้างปัญหาให้กับท่านในอนาคต ถ้าหากเริ่มต้นที่ถูกวิธีอาจจะ เป็นระบบ ที่ดึงดูด ลูกค้าให้เอาชนะคู่แข่งได้เป็นอย่างดี





ก่อนติดตั้งระบบทีวีรวม
งานระบบทีวีรวม มีการวิธีการติดตั้งได้ 2 ระบบได้ดังนี้
1. OPEN SYSTEMS MATV








2.CLOSE SYSTEMS MATV






ตัวอย่างการออกแบบงานระบบทีวีรวม อาคารสนามบินสุวรรณภูมิ










แบบการติดตั้งชุดงานระบบทีวีรวม / SMATV




ปีกอากาศ SAKOL รุ่น กล้องแดง
เสาทาวเวอร์ สูง 3 เมตร + เสากลาง (แป็ปเหล็ก 6 เมตร)
แผงรับไททีวี Samart 16 AC
อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ( Isolator )
บูสเตอร์ขยายสัญญาณ DA-120
MATV : เสาอากาศ + ไททีวี ( 9 ช่อง )





ปีกอากาศ SAKOL รุ่น กล้องแดง
เสาทาวเวอร์ สูง 3 เมตร + เสากลาง (แป็ปเหล็ก 6 เมตร)
แผงรับไททีวี Samart 16 AC
อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ( Isolator )
หน้าจานดาวเทียมขนาด 227 ซ.ม. ( 8 ฟุต)
หัวรับสัญญาณ แบบ 2 ขั้ว V/H
Sat Splitter แยกสัญญาณดาวเทียม แบบ 6 ทาง
เครื่องรับดาวเทียม แบบ Fix 4 เครื่อง
อุปกรณ์สัญญาณ เฉพาะช่อง (OCF) 4 ตัว
Combiner 7U1V Mix 1 ตัว
Splitter C 2 (ใช้รวมสัญญาณ เสาอากาศ + ดาวเทียม)
Booster ขยายสัญญาณ dBY รุ่น DA-120

MATV : เสาอากาศ + ไททีวี + ดาวเทียม ( รับชมทีวี จากเสาอากาศ 9 ช่อง+ดาวเทียม 4 ช่อง = 13 ช่อง)










MATV : เสาอากาศ + ไททีวี + ดาวเทียม ( รับชมทีวี จากเสาอากาศ 9 ช่อง+ดาวเทียม 6 ช่อง = 15 ช่อง)








ปีกอากาศ SAKOL รุ่น กล้องแดง
เสาทาวเวอร์ สูง 3 เมตร + เสากลาง (แป็ปเหล็ก 6 เมตร)
แผงรับไททีวี Samart 16 AC
อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า ( Isolator )
หน้าจานดาวเทียมขนาด 227 ซ.ม. ( 8 ฟุต)
หัวรับสัญญาณ แบบ 2 ขั้ว V/H
Sat Splitter แยกสัญญาณดาวเทียม แบบ 6 ทาง
เครื่องรับดาวเทียม แบบ Fix 6 เครื่อง
อุปกรณ์สัญญาณ เฉพาะช่อง (OCF) 6 ตัว
Combiner 8U1V Mix 1 ตัว
Splitter C 2 (ใช้รวมสัญญาณ เสาอากาศ + ดาวเทียม)
Booster ขยายสัญญาณ dBY รุ่น DA-120






SMATV : 4 CHANNEL ( ระบบทีวีรวม แบบปิด รับสัญญาณตรงผ่านดาวเทียม 4 ช่อง)







ชุดหน้าจานดาวเทียม C-Band 8' Fix
หัวรับสัญญญาณแบบแยก 2 ขั้ว LNB C2
Sat Splitter 6 Way 1 ตัว
เครื่องรับดาวเทียม Digital Fix ( Leo 905) 4 เครื่อง
ตัวรวมสัญญาณ Combiner 8UMIX
อุปกรณ์กรองสัญญาณเฉพาะช่อง OCF 4 ตัว
บูสเตอร์ขยายสัญญาณ dBY : DA 120

SMATV : 6 CHANNEL ( ระบบทีวีรวม แบบปิด รับสัญญาณตรงผ่านดาวเทียม 6 ช่อง)







ชุดหน้าจานดาวเทียม C-Band 8' Fix
หัวรับสัญญญาณแบบแยก 2 ขั้ว LNB C2
Sat Splitter 6 Way 1 ตัว
เครื่องรับดาวเทียม Digital Fix ( Leo 905) 6 เครื่อง
ตัวรวมสัญญาณ Combiner 8UMIX
อุปกรณ์กรองสัญญาณเฉพาะช่อง OCF 6 ตัว
บูสเตอร์ขยายสัญญาณ dBY : DA 120







SMATV : รับสัญญาณจากดาวเทียม 10 CHANNEL






ชุดหน้าจานดาวเทียม C-Band 8' Fix
หัวรับสัญญญาณแบบแยก 2 ขั้ว LNB C2
Sat Splitter 6 Way 2 ตัว
เครื่องรับดาวเทียม Digital Fix ( Leo 905) 10 เครื่อง
ตัวรวมสัญญาณ Combiner รุ่น ACT10U (dBY)
อุปกรณ์กรองสัญญาณเฉพาะช่อง OCF 10 ตัว
บูสเตอร์ขยายสัญญาณ dBY : DA 120
SMATV : รับสัญญาณจากดาวเทียม 16 CHANNEL




ชุดหน้าจานดาวเทียม C-Band 8' Fix 2 ชุด
หัวรับสัญญญาณแบบแยก 2 ขั้ว LNB C2 2 ชุด
Sat Splitter 6 Way 3 ตัว
เครื่องรับดาวเทียม Digital Fix ( Leo 905) 16 เครื่อง
ตัวแปลงสัญญาณ Modulator TMS-UHF,VHF 10 ตัว
ตัวรวมสัญญาณ Combiner รุ่น PC-16 (dBY)
บูสเตอร์ขยายสัญญาณ dBY : DA 120

สายส่ง - สายอากาศ คืออะไร
อุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของการติดต่อสื่อสาร คือสายอากาศ และสายนำสัญญาณ ซึ่งจะถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะการติดต่อสื่อสารนั้นจะสามารถติดต่อระยะทางได้ไกลๆมากเท่าไหร่นั้น สายอากาศจะถือเป็นหัวใจหลักอย่างหนึ่ง ถ้าเครื่องส่งมีประสิทธิภาพสูง แต่สายอากาศคุณภาพแย่ หรือ ไม่เหมาะสมกับความถี่ที่ใช้งาน ย่อมจะเป็นตัวลดทอนสัญญาณที่จะถูกส่งออกไป เรามาทำความรู้จัก สายส่งกำลัง และสายอากาศกันดีกว่าครับ
สายนําสัญญาณ(Transmission Line)




คือสายตัวนำสัญญาณที่เราต่อระหว่างเครื่องส่งวิทยุไปยังสายอากาศ ซึ่งสายนำสัญญาณจะใช้กรณีที่เราต้องการต่อใช้สายอากาศภายนอก ซึ่งสายนำสัญญาณจะเป็นตัวนำสัญญาณจากเครื่องส่งวิทยุไปยังสาย อากาศ และเป็นตัวนำพาสัญญาณวิทยุจากสายอากาศมายังเครื่องรับเช่นกัน ส่วนใหญ่สายนำสัญญาณที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุจะเป็นชนิด "โคแอกเซียล" ซึ่งจะมีลักษณะเป็นโลหะเช่นทองแดง เป็นตัวนำสัญญาณตรงกลางของสาย (บางยี่ห้อมีการจัดทําเป็นแกนสายทองแดงหลายๆเส้น ตีเกลียวซึ่งมักจะนิยมใช้กับสายอากาศประเภทที่มีโรเตอร์หมุนเพื่อลดปัญหาแกนในขาดกลาง) แล้วจะมีฉนวนเป็นตัวหุ้มหรือเรียก ว่าไดอิเล็กตริก ซึ่งอาจจะเป็นพลาสติก หรือโฟม (หากเป็นสายโฟมมักจะมีฟลอย์ประเภทอลูมิเนียมพันทับอยู่บนแกนโฟม เพื่อเป็นการแบ่งแยกสัญญาณไม่ให้สัญญาณมากวน) แล้วจะมีซีลด์ ซึ่งจะเป็นตัวป้องกันสัญญาณรบกวน โดยซีลด์ส่วนใหญ่จะถักเป็นตาข่ายห่อหุ้มอิเล็กตริก ซึ่งมักจะถูกจัดทําด้วยวัสดุประเภททองแดงหรือเงิน และซีลด์นี้ก็ถือว่าเป็นส่วนที่เดินทางครบวงจรของสัญญาณวิทยุด้วย ถัดจากส่วนของสายซีลด์จะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติกอีกชั้นที่เป็นปลอกหุ้มสีดำ
ตารางคุณสมบัติของสายนำสัญญาณชนิดต่างๆ เฉพาะค่า อิมพีแดนช์ประมาณ 50 โอห์ม ซึ่งเป็นสายที่ใช้ต่อจากเครื่องวิทยุสื่อสารไปสู่สายอากาศ
เบอร์สาย
อิมพีแดนซ์ (โอห์ม)
เส้นผ่านศูนย์กลางสาย (มม.)
จำนวนตัวนำ
ตัวคูณความเร็ว
อัตราการลดทอน (dB) ที่ความยาว 100 เมตร
ค่าความจุไฟฟ้า (pE/เมตร)
แรงดันสูงสุด (Vrms)
10 MHz
30 MHz
50 MHz
100 MHz
145 MHz
200 MHz
400 MHz
1 GHz
RG-8/U
52
10.3
7
0.66
2.0
3.7
5.2
7.2
8.8
10.5
15.4
29.2
96.8
4000
RG-8/U โฟม
50
10.3
1
0.78
1.5
2.9
3.9
5.9
7.4
8.9
13.8
23.4
85.3
1500
RG-8A/U
52
10.3
7
0.66
2.0
3.7
5.2
7.2
8.8
10.5
15.4
29.2
96.8
4000
RG-58/U
53.5
4.9
1
0.66
4.1
7.6
10.2
14.8
18.6
22.3
32.8
55.8
93.5
1900
RG-58A/U
50
4.9
19T
0.66
4.3
8.1
10.8
1.61
19.9
23.9
37.7
70.5
101.0
1900
RG-58A/U โฟม
50
4.9
1
0.78
-
-
10.5
14.8
17.8
21.0
29.5
47.6
85.3
600
RG-58C/U
50
4.9
19T
0.66
4.3
8.1
10.8
16.1
19.9
23.9
37.7
70.5
101.0
1900
RG-174/U
50
2.5
7
0.66
12.8
-
21.7
29.2
34.3
39.4
57.4
98.4
101.0
1500
RG-213/U
50
10.3
7
0.66
2.0
3.7
5.2
7.2
8.8
10.5
15.4
29.2
101.0
4000
RG-214/U ซีลด์ 2 ชั้น
50
10.8
7S
0.66
2.0
3.7
5.2
7.2
8.8
10.5
15.4
29.2
101.0
5000
RG-218/U
50
22.1
7
0.66
0.78
1.5
-
3.0
3.9
4.9
-
-
96.8
11000
1.5D-2V
50
2.9
7
0.66
8.5
15.5
-
28.5
34.2
40.0
-
100.0
100
300
2.5D-2V
50
4.3
1
0.66
5.0
8.6
-
15.2
19.2
23.5
-
55.3
100
500
3D-2V
50
5.5
1
0.66
4.4
7.7
-
13.8
17.0
-
-
50.5
100
1000
(3D-2V)
50
5.7
7
0.66
4.6
8.0
-
15.6
19.0
22.5
-
56.3
100
1000
5D-2V
50
7.5
1
0.66
2.6
4.6
-
8.8
10.6
12.5
-
33.6
100
2000
(5D-2V)
50
7.5
7
0.66
2.8
4.9
-
10.0
12.2
14.5
-
37.3
100
2000
8D-2
50
11.5
1
0.66
1.5
-
-
5.6
7.0
-
-
22.7
100
4000
(8D-2)
50
11.5
7
0.66
2.0
3.5
-
6.3
7.9
9.5
-
24.9
100
4000
10D-2
50
13.7
1
0.66
1.4
2.4
-
4.7
5.6
6.5
-
19.7
-
5000
(10D-2)
50
1.37
7
0.66
1.4
-
-
5.3
6.6
-
-
21.4
-
-
3D-LFV โฟม
50
5.0
1
0.78
-
-
-
-
15.4
-
27.6
-
-
-
5D-FB โฟม/ซีลด์ 2 ชั้น
50
7.5
1
0.79
-
-
-
-
7.8
-
13.8
-
-
-
8D-FB โฟม/ซีลด์ 2 ชั้น
50
11.1
1
0.79
-
-
-
-
5.0
-
9.0
-
-
-
10D-FB โฟม/ซีลด์ 2 ชั้น
50
13.0
1
0.79
-
-
-
-
3.8
-
7.0
-
84
-
12D-FB โฟม/ซีลด์ 2 ชั้น
50
15.4
1
0.79
-
-
-
-
3.2
-
5.9
-
84
-
Heliax 3/8" โฟม
50
11.2
1
0.88
1.0
1.8
2.3
3.4
4.1
4.9
7.1
11.5
-
-
Heliax 1/2" โฟม
50
16.0
1
0.88
0.7
1.3
1.7
2.5
3.1
3.7
5.4
8.9
-
-
ตารางแสดงแถบความถี่ใช้งานทำกำหนด
แถบความถี่
ช่วงความถี่
L band
1 ถึง 2 GHz
S band
2 ถึง 4 GHz
C band
4 ถึง 8 GHz
X band
8 ถึง 12 GHz
Ku band
12 ถึง 18 GHz
K band
18 ถึง 26.5 GHz
Ka band
26.5 ถึง 40 GHz
Q band
30 ถึง 50 GHz
U band
40 ถึง 60 GHz
V band
50 ถึง 75 GHz
E band
60 ถึง 90 GHz
W band
75 ถึง 110 GHz
F band
90 ถึง 140 GHz
D band
110 ถึง 170 GHz






ระบบสื่อสารของดาวเทียมโทรคมนาคมโดยทั่วไป

สายอากาศ (antenna)







เป็นอุปกรณ์ที่เห็นเด่นชัดที่สุดของสถานีฐาน และ มีความสำคัญมากเพราะเป็นตัวกำหนดความ สามารถในการรับส่งสัญญาณของระบบรับส่งสัญญาณ โดยทั่วไปแล้วสายอากาศที่มีขนาดใหญ่จะมีกำลังการขยายดีเพราะมีพื้นที่ในการรับส่งสัญญาณกว้าง สายอากาศมีหลายชนิด มีหน้าที่โฟกัสสัญญาณให้มีทิศทางเพื่อที่จะเพิ่มความเข้มของสัญญาณในทิศทางที่ต้องการสื่อสาร (คล้ายๆกับเลนซ์นูนที่ทำหน้าที่รวมแสงให้มีความเข้มขึ้น) ความเข้มของสัญญาณที่เพิ่มขึ้น ก็คือสัญญาณมีความแรงขึ้นนั่นเอง และเมื่อเราเปรียบเทียบความเข้มของสัญญาณที่ได้จากสายอากาศที่ใช้กับสายอากาศแบบรอบทิศทาง ( isotropic antenna) เราก็จะได้อัตราขยายกำลังของสายอากาศที่ใช้ ดังนั้นสายอากาศจึงมีส่วนช่วยในการเพิ่มกำลัง ของสัญญาณในการรับส่งสัญญาณในทิศทางที่ต้องการ





รูปที่ 4 ภาพจำลองรูปแบบการกระจายคลื่นของสายอากาศแบบสามมิติของสายอากาศแบบยากิ

สายอากาศที่นิยมใช้ในการรับส่งสัญญาณดาวเทียมได้แก่ สายอากาศแบบจาน (Dish antenna) ซึ่งทำหน้าที่สะท้อนสัญญาณ ที่ตกกระทบผิวจานสายอากาศไปยังตัวป้อนสัญญาณซึ่งทำหน้าที่แปลงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า(กรณีรับสัญญาณ)
หรือในทางกลับกัน ตัวป้อนสัญญาณจะแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ต้องการส่งให้เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เคลื่อนที่ไปยังผิวของจานสายอากาศเพื่อสะท้อนไปยังทิศทางที่ต้องการสื่อสาร สายอากาศแบบยากิ(Yagi antenna) สายอากาศแบบเกลียวที่มักใช้ในดาวเทียมสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น สายอากาศแบบแพทซ์ (Patch antenna)ซึ่งมักจะพบในเครื่องรับ GPS เป็นต้น






รูปที่ 5 ตัวอย่างสายอากาศแบบจานสะท้อน สายอากาศ GPS และสายอากาศสำหรับดาวเทียมของนักวิทยุสมัครเล่น ตามลำดับ
ชุดขยายสัญญาณแบบสัญญาณรบกวนต่ำ (Low Noise Amplifier - LNA)
LNA มักจะต่อไว้ใกล้กับตัวสายอากาศ เป็นอุปกรณ์ที่กำหนดคุณสมบัติความสามารถในการรับสัญญาณ ชุดขยายสัญญาณนี้มีหน้าที่ขยายสัญญาณวิทยุหรือไมโครเวฟ ที่รับมาได้จากสายอากาศให้มีความแรงเพิ่มขึ้นโดยให้กำเนิดสัญญาณรบกวนออกมาต่ำมาก สัญญาณที่เดินทางมาจากระยะไกล หลายร้อยกิโลเมตรจะมีขนาดลดลงอย่างมาก และอาจจะมีค่าใกล้เคียงกับสัญญาณรบกวนที่มีอยู่หรือที่วงจร ขยายสร้างขึ้น ดังนั้นการขยายสัญญาณโดยไม่สร้างสัญญาณรบกวนเพิ่มขึ้นมา จึงมีความสำคัญมากๆ และในกรณีที่ต้องการให้สัญญาณรบกวนต่ำมาก อาจจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิของวงจรขยายและเครื่องรับ ให้มีค่าต่ำๆ โดยใช้เครื่องปรับอากาศ หรือการหล่อเย็น
LNB ย่อมาจากคำว่า ( Low Noise Blockdown Converter ) หน้าที่การทำงานหลักๆคือ รับสัญญาณที่ได้จากจุดรวมสัญญาณที่หน้าจาน แล้วขยายสัญญาณให้มีความแรงมากขึ้น ด้วยวงจรขยายสัญญาณที่มีเกนการขยายสูงและการรบกวนต่ำ แล้วแปลงสัญญาณให้มีความถี่ที่ต่ำกว่าก่อนส่งออกจาก LNB ความถี่ที่ออกมาจาก LNB นี้เรียกว่าความถี่ IF ( Intermediate Frequency ) แล้วส่งผ่านสายนำสัญญาณ Coaxinal Cable เข้าสู่เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมต่อไปมีอยู่ 2 ชนิด
1.ชนิด C-BAND
2.ชนิด KU-BAND












การต่อ LNB เข้าด้วยกันหลายหัวเพื่อรับดาวเทียมหลายดวง
จานรับสัญญาณดาวเทียม
หน้าที่หลักของจานรับสัญญาณดาวเทียม คือทำหน้าที่สะท้อนสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียม เพื่อรวมสัญญาณไปที่จุดโฟกัสของจาน ( Center Focus ) ซึ่งจุดโฟกัสนี้ จะอยู่บริเวณหน้าจาน จานในรูปแบบลักษณะนี้เรียกว่า จานแบบ พาราโบลิก ( Parabolic ) ส่วนตัว LNB จะติดตั้งไว้ที่จุดโฟกัสนี้ เพื่อรับสัญญาณให้ได้แรงที่สุด
จานดาวเทียมที่นิยมใช้กันอย่างมาก คือ จานดาวเทียมแบบตะแกรงตามภาพตัวอย่าง ข้อดีของจานแบบนี้คือ ไม่ต้านลม น้ำหนักเบา หาที่ติดตั้งได้ง่าย ตัวโครงจานและแผ่นตะแกรงสะท้อนสัญญาณ ผลิตขึ้นจากอลูมิเนียม ทำให้น้ำหนักเบาและหมดปัญหาเรื่องสนิม และวัสดุนี้ยังมีคุณสมบัติการสะท้อนสัญญาณได้ดีอีกด้วย
เครื่องรับสัญญาณ
Satellite Receiver หรือ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม คือเครื่องแปลงสัญญาณ ที่รับมาจาก LNB ในช่วงความถี่ IF มาผ่านขบวน การแปลงสัญญาณ ออกมาเป็นสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงเครื่องรับดาวเทียมในปัจจุบันมี 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบ Analog และระบบ Digital
ระบบเครื่องรับแบบ ANALOG เป็นเครื่องที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียม ออกมาเป็น ภาพและเสียงโดยตรงขั้นตอน จะไม่ยุ่งยาก ระบบนี้หากว่าสัญญาณที่รับได้มีความแรงของสัญญาณที่เพียงพอ ภาพที่ได้ก็จะ มีความคมชัด แต่หากว่าสัญญาณที่ได้อ่อน ภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นเม็ดสโนว์ ในระบบAnalogสำหรับการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ใน 1 ช่องดาวเทียม( ช่องทรานสปอนเดอร์ )จะส่งรายการทีวีได้ 1 ช่องรายการ หรือถ้าบีบอัดสัญญาณก็จะได้ที่ 2 ช่องรายการแต่คุณภาพที่ได้จะไม่ดีเท่าที่ควรปัจจุบันระบบนี้ไม่นิยมแล้ว
ระบบเครื่องรบแบบ DIGITAL (DVB) เครื่องรับดาวเทียมระบบ Digital เป็นเครื่องรับดาวเทียม ที่รับสัญญาณจากดาวเทียม ที่ส่งสัญญาณแบบ ดิจิตอล แล้วทำการแปลงสัญญาณข้อมูลด้วยระบบถอดรหัสแบบ Digital ให้เป็นภาพและเสียงที่สมบูรณ์แบบ ระบบบีบอัดสัญญาณที่ใช้ในระบบดาวเทียมคือระบบ MPEG-II เป็นระบบถอดรหัสแบบเดียวกันกับเครื่องเล่น DVD ซึ่งให้ความคมชัดมาก ทั้งระบบภาพและเสียง สำหรับระบบ Digital ในกรณีที่สัญญาณที่รับได้จากระบบดาวเทียมมีความแรงสัญญาณต่ำ ถ้าเป็นแบบระบบเดิมภาพที่ได้จะไม่ชัดและเป็นลักษณะเม็ดไฟกวนภาพ แต่ถ้าเป็นระบบ Digital ระบบจะยังคงประมวลผลได้ และระบบภาพเสียงที่ได้ก็จะยังคงความคมชัดอยู่เหมือนเดิม (ยกเว้นสัญญาณที่รับได้อ่อนมากๆหรือต่ำเกินไป ) ในส่วนการรับส่งสัญญาณใน 1 ช่องทรานสปอนเดอร์ สำหรับระบบ Digital สามารถบีบอัดสัญญาณช่องรายการโทรทัศน์ ได้มากถึง 4 - 8 ช่องรายการ ต่อ 1 ช่องทรานสปอนเดอร์ ด้วยระบบการบีบอัดในแบบ Digital ทำให้การเช่าช่องส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมจึงไม่จำเป็นต้องเช่า ทั้งทราน สปอนเดอร์ แบ่งเช่าได้ทำให้มีราคาการเช่าที่ถูกลง และช่องรายการโทรทัศน์ช่องต่างๆทั้งในและต่าง ประเทศ จึงนิยมใช้ระบบนี้กันอย่างรวดเร็วและแพร่หลาย ปัจจุบันช่องรายการผ่านดาวเทียมมีมากถึง 400 กว่าช่องรายการ และคาดว่าจะมีมากขึ้นอีกในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น: